ประวัติความเป็นมา

จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองด่านสำคัญระหว่าง ภาคกลางและ ภาคใต้ มีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เพชรบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมายและหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จึงเป็นอีก จังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นิยมไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกันมาก จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 6,225,138 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,890,711 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็น อันดับที่ 36 ของประเทศไทย โดยมีส่วนที่กว้างที่สุดในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เป็นระยะทาง 103 กิโลเมตร และส่วนที่ยาวที่สุดในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศของเพชรบุรี แบ่งเป็น 3 เขต คือ เขตภูเขาและที่ราบสูงทางด้านตะวันตก เป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือลงใต้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณตอนกลางของจังหวัด เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและ เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด เพราะมีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่าน มีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรี และเขตที่ราบชายฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออก พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ความยาวรวมประมาณ 80 กิโลเมตร อุดมไปด้วยป่าโกงกางและชายหาดที่สวยงาม เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดทั้งในด้าน การประมงและการท่องเที่ยว
เพชรบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยทวารวดี เดิมเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา มีชื่อที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกต่างๆ กัน เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า “พิพรีย์” ชาวฝรั่งเศส เรียกว่า “พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” เป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้อง กับชื่อวัดพริบพลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เพชรบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เจ้าเมืองผู้ปกครองเพชรบุรีล้วนเป็นผู้ที่สืบเชื้อพระวงศ์ ต่อมาในสมัย รัตนโกสินทร์ จังหวัดเพชรบุรีได้เปลี่ยนเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง โปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดให้สร้างพระราชวัง วัดและ พระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ยๆ ใกล้กับตัวเมือง และพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันว่า “วังบ้านปืน” และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำในเวลาต่อมา เพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์ ด้วยทรงเชื่อว่า อากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ จังหวัดเพชรบุรีจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองสามวัง” นับแต่นั้นมา
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศตะวันออก ติดต่อชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
จังหวัดเพชรบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอ หนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. 02-694-1222 ต่อ 8
02-282-9773
ททท.ภาคกลางเขต 2 (ชะอำ) 032-471-005-6
ประชาสัมพันธ์จังหวัด 032-428-047 , 032-425-573
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 032-425-005
สภ.อ.เมือง 032-425-500
สภ.ต.หาดเจ้าสำราญ 032-478-300
สภ.อ.แก่งกระจาน 032-459-267
สภ.อ.เขาย้อย 032-562-500
สภ.อ.ชะอำ 032-471-321
สภ.อ.ท่ายาง 032-461-500
สภ.อ.บ้านลาด 032-491-100
สภ.อ.บ้านแหลม 032-481-500
สภ.ต.บางตะบูน 032-489-250
สภ.อ.หนองหญ้าปล้อง 032-494-364
รพ.ค่ายรามราชนิเวศน์ 032-428-085 , 032-428-506-9
รพ.ผลกำเนิดศิริ 032-425-075
รพ.พระจอมเกล้า 032-401-251-7
รพ.เพชรรัชต์ 032-417-070-9
รพ.เมืองเพชร-ธนบุรี 032-415-191-9
รพ.วัชรเวช 032-425-592
รพ.สหแพทย์ 032-427-980 , 032-428-203
รพ.แก่งกระจาน 032-459-258
รพ.เขาย้อย 032-562-200
รพ.ชะอำ 032-471-007
รพ.ท่ายาง 032-461-100
รพ.บ้านลาด 032-491-051
รพ.บ้านแหลม 032-481-145
รพ.หนองหญ้าปล้อง 032-494-353-4
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี www.phetchaburi.go.th